รายชื่อและผลงานย่อของนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นทั้งหมด (พ.ศ. 2525-2558)

เรียงตามปี | เรียงโดยชื่อ | เรียงตามมหาวิทยาลัย

ศาสตราจารย์ ดร. วิรุฬห์ สายคณิต (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
Professor Dr. Virulh Sa-yakanit B.Sc. (Hons., Chulalongkorn), Fil.Dr. (Gothenburg)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2525 สาขาฟิสิกส์

           เสนอทฤษฎีใหม่ที่อธิบายพฤติกรรมเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในสิ่งแวดล้อมไร้ระเบียบ ซึ่งน าไปสู่ความเข้าใจถึงคุณสมบัติต่างๆ ของสารจำ พวกอสัณฐาน กึ่งตัวนำสารผลึกกึ่งตัวนำที่มีสิ่งเจือปนสูง ฯลฯ อันเป็นการก่อให้เกิดวิวัฒนาการในวงการอิเล็กทรอนิกส์ เพราะสารเหล่านี้มีประโยชน์ในการใช้ผลิตแสงเลเซอร์ เซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ อีกมาก

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี (มหาวิทยาลัยมหิดล)
Professor Dr. Prawase Wasi M.D. (U. Med. Sci), Ph.D. (Colorado)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2526 สาขาชีววิทยา (พันธุศาสตร์)

           ค้นพบกลไกทางพันธุศาสตร์ของโรคแอลฟ่าธาลัสซีเมีย โดยพบว่าเกิดขึ้นจากความผิดปกติของยีนแอลฟ่าซึ่งมีทั้งสิ้นสี่หน่วย จากมารดาและบิดาฝ่ายละสอง หน่วย ซึ่งความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับจำนวนของยีนที่ผิดปกตินั้น

ศาสตราจารย์ ดร. ม.ร.ว. พุฒิพงศ์ วรวุฒิ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
Professor Dr. Puttipongse Varavudhi B.Sc. (Chulalongkorn), Ph.D. (Weizmann)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2527 สาขาสรีรวิทยาการสืบพันธุ์

           ค้นพบว่าเออร์กอตแอลคาลอยด์มีผลห้ามการฝังตัวของบลาสโตซิสในหนูขาว โดยไม่ไปท าอันตรายต่อบลาสโตซิสโดยตรงแต่ ไปห้ามการหลั่งฮอร์โมนจาก ต่อมใต้สมองที่ทำหน้าที่กระตุ้นรังไข่ให้สร้างโปรเจสเตอโรน นับเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ส าคัญอันนำไปสู่การ เข้าใจกลไกการทำ งานของสารประเภทนี้ที่ระดับสมองส่วน ไฮโปทาลามัสจนถึงขั้นพัฒนามาใช้ในการห้ามการหลั่งฮอร์โมนโปรแลกติน และห้ามอาการน้ำนมไหล และพบว่าฮอร์โมนแอนโดรเจนสามารถกระตุ้นการฝังตัวของ บลาสโตซิสได้เช่นเดียวกับฮอร์โมนอีสโตรเจน

ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ (มหาวิทยาลัยมหิดล)
Professor Dr. Yongyuth Yuthavong B.Sc. (Hons., London), D.Phil. (Oxford)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2527 สาขาชีวเคมี

           ค้นพบการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและคุณสมบัติหลายประการของเยื่อหุ้มเม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อมาลาเรีย และความเกี่ยวโยง ระหว่างการเปลี่ยนแปลงเหล่า นี้กับอาการของโรคนี้ทางโลหิตวิทยา ค้นพบเอนไซม์ใหม่และวิถีปฏิกิริยาใหม่ของเชื้อมาลาเรียโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์และใช้สารโฟเลต อันเป็นแนวทางในการ พัฒนายาต้านมาลาเรียใหม่ ๆ

รองศาสตราจารย์ ดร. สกล พันธุ์ยิ้ม (มหาวิทยาลัยมหิดล)
Associate Professor Dr. Sakol Panyim B.Sc. (California at Berkeley), Ph.D. (Iowa)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2528 สาขาชีวเคมี (พันธุวิศวกรรม)

           ค้นพบยีนโปรตีนสารพิษฆ่าลูกน้ำยุงจากแบคทีเรียและศึกษาโครงสร้างที่ลำดับนิวคลีโอไทด์จนทราบลำดับกรดอะมิโนส่วนที่ ออกฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำยุง ค้นพบชิ้นดีเอ็นเอชนิดจำเพาะต่อพันธุ์ของยุงก้นปล่องจนนำมาใช้จำแนกพันธุ์ของยุงก้นปล่องได้อย่างง่าย ๆ การค้นพบทั้งสองเป็นแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพ การควบคุมยุงพาหะนำโรค

รองศาสตราจารย์ ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์ (มหาวิทยาลัยมหิดล)
Associate Professor Dr. Yodhathai Thebtaranonth B.Sc. (U. Med. Sci.), Ph.D. (Sheffield)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2529 สาขาเคมี

           ค้นพบสารใหม่ในกลุ่ม Cyclohexene epoxides ซึ่งสกัดได้จากต้นไม้ในจีนัสยูวาเรีย ทำให้เข้าใจกลไกชีวสังเคราะห์ของสารกลุ่ม ดังกล่าวในต้นไม้อย่าง แน่นอนจากหลายกลไกที่มีผู้เสนอขึ้นมา ค้นพบปฏิกิริยาอันนำไปสู่การสังเคราะห์สารหลายชนิดในตระกูล Cyclopentenoid antibiotics เช่น ซาร์โคมัยซิน เมทธิลิโนมัยซิน เอ และ บี ตลอดจนถึงการสังเคราะห์ไดออสไพรอล อันเป็นสารออกฤทธิ์ถ่ายพยาธิในลูกมะเกลือ

ศาสตราจารย์ ดร. สุทัศน์ ยกส้าน (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร)
Professor Dr. Suthat Yoksan B.Sc. (Hons., London), Ph.D. (California at Riverside)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2530 สาขาฟิสิกส์ทฤษฎี

           สร้างทฤษฎีอธิบายสมบัติพื้นฐานบางประการของสภาพนำยิ่งยวด โดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยวกับอุณหภูมิวิกฤตความร้อนจำเพาะ และฟังก์ชั่นคลื่นของตัวนำ ยิ่งยวดขณะมีสารเจือที่มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กและไม่เป็นแม่เหล็กชนิดต่าง ๆ และได้ตั้งทฤษฎีอธิบายสมบัติ บางประการของระบบที่ประกอบด้วยตัวนำยิ่งยวดประกอบ กับตัวนำปกติอีกด้วย

ศาสตราจารย์ ดร. สถิตย์ สิริสิงห (มหาวิทยาลัยมหิดล)
Professor Dr. Stitaya Sirisinha B.Sc. (Hons., Jacksonville State), Ph.D. (Rochester)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นปี พ.ศ. 2531 สาขาจุลชีววิทยา

           พบว่าการขาดไวตามินเอในสารอาหารทำให้ภูมิคุ้มกันเฉพาะแห่งเสียไป เนื่องจากไม่สามารถแสดงออกได้ในลำไส้และเนื้อเยื่อ ต่าง ๆ และได้พัฒนาวิธีวินิจฉัย โรคเขตร้อนหลายอย่างด้วยวิธีการอิมมิวโนวิทยา

ศาสตราจารย์ ดร. ถาวร วัชราภัย (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
Professor Dr. Thavorn Vajrabhaya B.S. (Cornell), Ph.D. (Cornell)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2532 สาขาพฤกษศาสตร์

           พบการเกิดลักษณะใหม่ของดอกกล้วยไม้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการผันแปรของเซลล์ร่างกายในต้นที่ขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศด้วย วิธีการเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็น คนแรกและรายงานปรากฏการณ์ดังกล่าวในพืชโตเต็มวัยเมื่อ พ.ศ. 2515 ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน มีผู้ใช้วิธีดังกล่าวเพื่อสร้างพืชพันธุ์ใหม่ ๆ อีกมาก

รองศาสตราจารย์สดศรี ไทยทอง (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
Associate Professor Sodsri Thaithong B.Sc. (Hons., Chulalongkorn), M.Sc. (Mahidol)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2533 สาขาสัตววิทยา

           จากการแยกสายพันธุ์บริสุทธิ์ของเชื้อไข้มาลาเรียชนิดพลาสโมเดียมฟัลซิปารัม ได้พบว่าในผู้ป่วยบางรายมีเชื้อมาลาเรียอยู่หลาย สายพันธุ์โดยแต่ละสายพันธุ์มี ระดับความไวต่อยาที่ใช้รักษาและลักษณะเชิงพันธุกรรมแตกต่างกัน และสามารถชักนำสายพันธุ์ที่ไวต่อยา ให้เกิดการดื้อต่อยาในหลอดทดลองได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งในการศึกษาหาข้อมูลทางชีวเคมีและพันธุกรรมของเชื้อมาลาเรีย

ศาสตราจารย์ ดร. วิสุทธิ์ ใบไม้ (มหาวิทยาลัยมหิดล)
Professor Dr. Visut Baimai B.Sc. (Hons., Queensland), Ph.D. (Queensland)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2533 สาขาชีววิทยา (พันธุศาสตร์)

           ค้นพบยุงก้นปล่องพาหะชนิด Anopheles dirus เป็นกลุ่มสปีซีส์ซับซ้อนที่พบในประเทศไทยมีอยู่ 5 ชนิด ซึ่งมีแบบแผนการแพร่กระจาย, ความหลากหลายทางพันธุกรรม, แหล่งที่อยู่อาศัยและพฤติกรรมแตกต่างกันอย่างชัดเจน และแต่ละชนิดมีสมบัติเป็นพาหะน าเชื้อไข้มาลาเรียได้แตกต่างกัน ซึ่งอาจเกี่ยวโยงกับความแตกต่างแปรผันทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานส าคัญในการพัฒนาหาแนวทางการควบคุมการระบาดของไข้มาลาเรียโดยวิธีทางพันธุศาสตร์

ศาสตราจารย์ ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง)
Professor Dr. Pairash Thajchayapong B.Sc. (Hons., London), Ph.D. (Cambridge)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2534 สาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์

           ค้นพบวิธีออกแบบวงจรกรองดิจิตัลชนิดรีเคอร์ซีฟโดยการใช้โปรแกรมเชิงเส้น ทำให้เกิดความหลากหลายของรูปแบบและคุณ ลักษณะการตอบสนองความถี่ ขนาดของวงจร ค้นพบการออกแบบวงจรกรองชนิดรีเคอร์ซีฟ ที่ให้คุณสมบัติตอบสนองความถี่เฟสมี ลักษณะเชิงเส้น ออกแบบวงจรของความถี่ชนิดนันรีเคอร์ซีฟ ขนาดเรียบที่สุดและก าหนดจุดตัดความถี่ได้ ค้นพบวงจรที่สามารถวัดทิศทางและระยะทางได้ ค้นพบวงจรกรองอานาล็อกที่ประหยัดชิ้นส่วนในการผลิตและมีความอดทน ต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าชิ้นส่วนดังกล่าว ผลงานดังกล่าวเป็นแนวทางให้เกิดการประยุกต์ เช่น ในการสร้างอุปกรณ์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์และการประมวลภาพถ่าย ผิวโลกจากดาวเทียม เป็นต้น

ศาสตราจารย์ ดร. อมเรศ ภูมิรัตน (มหาวิทยาลัยมหิดล)
Professor Dr. Amaret Bhumiratana B.Sc. (Hons., California at Davis), Ph.D. (Michigan State)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2535 สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ

           ได้ท าการวิจัยอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับขบวนการถ่ายทอดยีนแบบ Conjugation-like ในแบคทีเรียชนิด Bacillus thuringiensis ซึ่งรวมถึงขบวนการแยก และหาล าดับยีนของ S-layer โปรตีนในแบคทีเรียชนิดนี้ด้วย ซึ่งผลการวิจัยดังกล่าวน าไปสู่แนวทางการพัฒนาและการสร้างสายพันธุ์ใหม่ ๆ ของ B. thuringiensis ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในการใช้แบคทีเรียชนิดนี้ควบคุมแมลงศัตรูพืชและแมลงพาหะของโรค นอกจากนี้ยังได้วิจัยเกี่ยวกับขบวนการเพาะเลี้ยงเซลล์แบบวนกลับ จนสามารถนำไปสู่ขบวนการผลิต B. thuringiensis ซึ่งมีศักยภาพสูงขึ้นกว่าเดิมที่ใช้กันอยู่

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ณัฐ ภมรประวัติ (มหาวิทยาลัยมหิดล)
Professor Emeritus Dr. Natth Bhamarapravati M.D. (U. Med. Sci.), D.Sc. (Pennsylvania)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2536 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

           ได้ศึกษาพยาธิวิทยาของโรคใบไม้ในตับ จนสรุปได้ว่าสาเหตุของการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีซึ่งพบกันมากในผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ตับ อาจมาจากการที่สารก่อมะเร็ง ที่อยู่ในอาหารไปกระตุ้นเซลล์ของระบบท่อน้ำดี ซึ่งถูกรบกวนจากพยาธิใบไม้เป็นเวลานาน ๆ และได้ศึกษา วิทยาศาสตร์พื้นฐานในด้านอิมมิวโนพยาธิวิทยาของโรค ไข้เลือดออกในเด็ก ซึ่งได้ผลงานที่มีศักยภาพในการนำไปประยุกต์ใช้ต่อในการ รักษาผู้ป่วยและการป้องกันโรคได้ในอนาคต

ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิศิษฏ์ สิตปรีชา (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
Professor Dr. Visith Sitprija M.D. (U. Med. Sci.), Ph.D. (Colorado)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2537 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

           ได้ศึกษาพยาธิวิทยาและสรีรวิทยาส าหรับโรคไตในเมืองร้อน ซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อ, พิษของพืชและสัตว์และสิ่งแวดล้อม งานวิจัยครอบคลุมโรค เล็ปโตสไปโรสิส, มาลาเรีย, ทริคิโนสิส, เมลิออยโดสิส, ดีซ่านจากพยาธิตับ, มะเร็งท่อน้ำดี, พิษจากงูแมวเซา และปัญหาทางแพทย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นปัญหาทางเมตาบอลิกที่เกี่ยวโยงกับการขาดโพแทสเซียมและการทำงานที่ผิดปกติของเอนไซม์ ผลการวิจัยท าให้สามารถรักษาและป้องกันโรคได้ รวมทั้งเป็นแรงดลใจให้แพทย์และนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่หันมาศึกษาโรคไตทางอายุรศาสตร์และการวิจัยพื้นฐาน เพื่อความเข้าใจในการเกิดโรคและหาวิธีรักษา

ศาสตราจารย์ นายแพทย์อารี วัลยะเสวี (มหาวิทยาลัยมหิดล)
Professor Dr. Aree Valyasevi M.D. (U. Med. Sci.), Ph.D. (Pennsylvania)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2537 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

           ได้ศึกษาและวิจัยอย่างต่อเนื่องทางด้านโภชนาการ โดยเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งได้ค้นพบว่า เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทาง ชีวเคมีอันเนื่องมาจากอาหาร โดยมีสาเหตุจากการขาดสารฟอสฟอรัสในอาหารและการเพิ่มขึ้นของปริมาณสารออกซาเลทที่มาจากอาหารท้องถิ่นซึ่งเป็นตัวผลึกที่สำคัญใน ก้อนนิ่ว ผลการวิจัยนำไปสู่การป้องกันโรคนิ่ว โดยการให้เกลือฟอสเฟต ในระดับชุมชนจนประสบผลสำเร็จ โดยการผสมผสานการวิจัยด้านพฤติกรรมศาสตร์เข้ากับงาน วิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อ แก้ปัญหาด้านสุขภาพอนามัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาด้านโภชนาการ

ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ โศภน (มหาวิทยาลัยมหิดล)
Professor Dr. Prasert Sobhon B.Sc. (Western Australia), Ph.D. (Wisconsin)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2538 สาขาเซลล์ชีววิทยา

           ได้ศึกษาทางด้านเซลล์ชีววิทยามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเกี่ยวกับโครงสร้างและหน้าที่ของชั้นผิวของพยาธิใบไม้เลือดและ พยาธิใบไม้ตับในคนและ ในโค/กระบือ และการเก็บรักษาหน่วยพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตในเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์อื่น ๆ โดยศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสารโปรตีนใน นิวเคลียสของเซลล์ ซึ่งเป็นตัวกำกับการขดเรียงตัวของเส้นใยโครมาตินในเซลล์อสุจ

ศาสตราจารย์ ดร. วัลลภ สุระก าพลธร (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง)
Professor Dr. Wanlop Surakampontorn B.Eng. (KMITL), Ph.D. (Kent at Canterbury)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2539 สาขาฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์

           ค้นพบและเสนอหลักการใหม่ของการออกแบบวงจรรวมเชิงเส้น ที่ประยุกต์ใช้ในระบบประมวลผลสัญญาณอานาล็อกแบบ โหมดกระแสและเหมาะสมกับ การสร้างเป็นไอซีด้วยมอสเทคโนโลยีและไบโพลาร์เทคโนโลยี โดยเฉพาะการคิดค้นและเสนอแนวคิดของ วงจรสายพานกระแสปรับค่าขยายด้วยอิเล็กทรอนิกส์

รองศาสตราจารย์ ดร. ประพนธ์ วิไลรัตน์ (มหาวิทยาลัยมหิดล)
Associate Professor Dr. Prapon Wilairat B.Sc. (Hons., ANU), Ph.D. (Oregon)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2540 สาขาชีวเคมี

           มีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่องทางด้านการทำงานของวิตามินอี โรคมาลาเรียและโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งทั้งในเชิง พื้นฐานที่สามารถนำเอาวิธีการ ทางชีวเคมีมาใช้ เพื่อหาข้อมูลที่สามารถที่จะท าให้เข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดโรคบางอย่างได้ และในเชิง ประยุกต์ ในการนำ เทคนิคทางชีวภาพมาใช้ประโยชน์ใน ทางการแพทย์ เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค ผลงานวิจัยนี้ได้มีส่วนเสริมสร้างให้นักวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยมีความก้าวหน้าทางวิชาการในด้านเหล่านี้

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
Professor Dr. Yong Poovorawan M.D. (Chulalongkorn)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2540 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

           ได้ทำการศึกษาทั้งข้อมูลวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิจัยทางคลินิกของไวรัสตับอักเสบอย่างต่อเนื่องและครบวงจร รวมทั้งสาเหตุ ลักษณะไวรัส, ระบาดวิทยา, อาการทางคลินิก, การตรวจวินิจฉัย รวมทั้งการป้องกันและรักษา เพื่อนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในการแก้ ปัญหาในระดับประเทศต่อไป

รองศาสตราจารย์ ดร. อภิชาต สุขส าราญ (มหาวิทยาลัยรามค าแหง)
Associate Professor Dr. Apichart Suksamrarn B.Sc. (Hons., Mahidol), Ph.D. (Cambridge)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2541 สาขาเคมีอินทรีย์

           ทำวิจัยทางด้านเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติของเอคไดสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนควบคุมการลอกคราบและการเจริญเติบโตของแมลง พบเอคไดสเตียรอยด์ใหม่ หลายชนิดจากพืช ได้สังเคราะห์ปรับเปลี่ยนโครงสร้างของเอคไดสเตียรอยด์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างโครงสร้างกับฤทธิ์ทางชีวภาพ นำความรู้ใหม่มาสู่วงการ เคมีเป็นอย่างมากและเป็นผลงานที่จะนำไปสู่การพัฒนาเป็นสารควบคุม แมลงศัตรูพืชที่ไม่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมต่อไป

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศกรณ์ มงคลสุข (สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์และมหาวิทยาลัยมหิดล)
Assistant Professor Dr. Skorn Mongkolsuk B.Sc. (Hons., London), Ph.D. (Maryland)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2541 สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ

           พัฒนาวิธีตรวจหาพยาธิใบไม้ในตับโดยใช้เทคนิคดีเอ็นเอ และได้ศึกษากลไกขั้นพื้นฐานของการก่อให้เกิดโรคพืชโดยแบคทีเรีย แซนโทโมนาส เพื่อนำ ไปเป็นข้อมูลสำคัญในการพัฒนาการป้องกันการระบาดของโรคพืช

ศาสตราจารย์ ดร. วันเพ็ญ ชัยค าภา (มหาวิทยาลัยมหิดล)
Professor Dr. Wanpen Chaicumpa D.V.M. (Hons., Kasetsart), Ph.D. (Adelaide)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2542 สาขาวิทยาภูมิคุ้มกัน

           ได้พัฒนาวิธีวินิจฉัยโรคพยาธิตัวจี๊ด, โรคพยาธิใบไม้ปอด, ชุดตรวจวินิจฉัยโรคอหิวาต์อย่างรวดเร็ว, ชุดตรวจวินิจฉัยไทฟอยด์, โรคติดเชื้อซัลโมเนลลา, โรคติดเชื้อ Eschelichia coli และโรคเล็ปโตสไปโรสิส ผลงานหลายชิ้นมีศักยภาพที่จะนำไปใช้ต่อไปได้ เช่น การพัฒนาวัคซีนป้องกันอหิวาต์ชนิดกิน

ศาสตราจารย์ ดร. จงรักษ์ ผลประเสริฐ (สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย)
Professor Dr. Chongrak Polprasert B.Sc. (Chulalongkorn), Ph.D. (Washington)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2543 สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

           มีผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีและการจัดการเพื่อนำของเสียอินทรีย์มาใช้ประโยชน์ใหม่ การบำบัดน้ำเสียและการใช้ประโยชน์จากน้ำเสียในอุตสาหกรรมทาง การเกษตร การน้ำของเสียกลับมาใช้ใหม่ และการควบคุมมลภาวะโดยใช้บ่อบำบัดแบบธรรมชาติด้วย วิธีต่าง ๆ

ศาสตราจารย์ ดร. สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)
Professor Dr. Somchart Soponronnarit B.Eng. (Hons., Khon Kaen), Dr.-Ing. (ENSAT)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2543 สาขาเทคโนโลยีพลังงาน

           มีผลงานวิจัยเกี่ยวกับพลังงานทดแทน, เทคโนโลยีการอบแห้งเน้นที่เมล็ดพืชและอาหาร โดยวิธีฟลูอิไดซ์เบดและสเปาเต็ดเบด การพัฒนาเตาเผาแกลบแบบไซโคลน การอบแห้งผักและผลไม้โดยใช้ฮีทปั๊มและพลังงานแสงอาทิตย์ การอบแห้งและการเก็บรักษาข้าว เปลือกในฉางเก็บ

รองศาสตราจารย์ ดร. เกตุ กรุดพันธ์ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
Associate Professor Dr. Kate Grudpan B.S. (Chiang Mai), Ph.D. (Liverpool John Moores)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2544 สาขาเคมีวิเคราะห์

           ได้พัฒนาระบบการวิเคราะห์ทางเคมีโดยเทคนิค Flow Injection Analysis (FIA) และเทคนิคที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านการพัฒนา อุปกรณ์ เครื่องมือโดย ใช้วัสดุที่หาได้ภายในประเทศ การพัฒนาเทคนิคที่ใช้ใน FIA และการศึกษาปฏิกิริยาเคมีที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้วิธี วิเคราะห์แบบใหม่ที่มีความถูกต้องแม่นยำสูง ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลา โดยเน้นการประยุกต์ระบบที่พัฒนาขึ้นสำหรับแก้ไขปัญหาทาง เคมีวิเคราะห์ในประเทศไทยและเกิดนวัตกรรมใหม่ในระดับสากลด้วย

ศาสตราจารย์ ดร. ม.ร.ว. ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ (มหาวิทยาลัยมหิดล)
Professor Dr. M.R. Jisnuson Svasti B.A. (Hons., Cambridge), Ph.D. (Cambridge)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2545 สาขาชีวเคมี

           ได้ศึกษาโครงสร้างและหน้าที่การทำงานของโปรตีนระบบต่าง ๆ เช่นโปรตีนในเลือด, โปรตีนในระบบสืบพันธุ์เพศชาย, โปรตีนผิดปกติในโรคต่าง ๆ และ เอนไซม์จากพืช ก่อให้เกิดการค้นพบต่าง ๆ เช่น ค้นพบฮีโมโกลบินผิดปกติหลายชนิดที่ไม่เคยพบมาก่อนในประเทศไทย, พบโปรตีนทำ หน้าที่ย่อยสารคาร์โบไฮเดรต ในพืชพื้นเมืองของประเทศไทยบางชนิด นอกจากนั้นยังให้ความสนใจและมีผลงานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ศึกษาด้วย

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทัศน์ ฟู่เจริญ (มหาวิทยาลัยมหิดล)
Professor Dr. Suthat Fucharoen B.Sc. (Chiang Mai), M.D. (Chiang Mai)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2545 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

           ทำวิจัยเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียจนเกิดการความเข้าใจเกี่ยวกับความผิดปกติของยีนที่ทำให้เกิดโรคธาลัสซีเมียชนิดต่าง ๆ ในคนไทย จากความรู้พื้นฐานที่ได้ทำ ให้สามารถตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์โดยวิธีการตรวจหาความผิดปกติของยีนได้เป็นกลุ่มแรกของประเทศไทย นอกจากนั้นยังได้พัฒนาเครือข่ายงานวิจัยภายใน ประเทศเชื่อมโยงกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ก่อผลดีต่อการแก้ปัญหาโรคเลือดจางธาลัสซีเมียในประเทศไทยหลายด้าน

รองศาสตราจารย์ ดร. จ ารัส ลิ้มตระกูล (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
Associate Professor Dr. Jumras Limtrakul B.Sc. (Khon Kaen), Dr. rer. nat. (Innsbruck)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2546 สาขาเคมี

           ศึกษากระบวนการและกลไกการเร่งปฏิกิริยาเคมีแบบวิวิธพันธ์ (Heterogenous) โดยมุ่งเน้นศึกษาระบบที่มีซีโอไลต์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีในระดับโมเลกุล รวมทั้งการออกแบบตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีคุณสมบัติเฉพาะที่เหมาะสมกับแต่ละปฏิกิริยา นอกจากนี้ยังได้พัฒนาระเบียบวิธีใหม่ทางด้านเคมีคอมพิวเตอร์ที่มีความถูกต้อง และมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยอาศัยหลักการทางทฤษฎีโครงสร้างอิเล็กตรอน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ เช่น เคมี วิศวกรรมเคมีและชีววิทยาโมเลกุล

รองศาสตราจารย์ ดร. สุพจน์ หารหนองบัว (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
Associate Professor Dr. Supot Hannongbua B.Sc. (Khon Kaen), Dr. rer. nat. (Innsbruck)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2546 สาขาเคมี

           พัฒนาระเบียบวิธีทางเคมีคอมพิวเตอร์ มุ่งเน้นสมการแทนแรงกระทำระหว่างโมเลกุลในสารละลายโดยใช้ค่าพลังงานจากการคำนวณทางเคมีควอนตัม เพื่อนำ ไปปรับปรุงผลการศึกษาโดยวิธีโมเลคิวลาร์ไดนามิกส์ให้มีความถูกต้องมากขึ้น พัฒนาและรวมผลกระทบที่เนื่องมาจากอนุภาคที่สาม รวมไปถึงการพัฒนาศักย์เทียมเพื่อ ศึกษาสมบัติของสารละลายที่มีอิเล็กตรอนอิสระละลายอยู่ ทำวิจัยเพื่อค้นหาและออกแบบยา มุ่งที่การออกแบบยายับยั้งโรคเอดส์และตัวยับยั้งโรคซาร์ส นอกจากนี้ยังได้ใช้ เคมีคอมพิวเตอร์มาวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์จากซีโอไลต์

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
Professor Dr. Thiravat Hemachudha M.D. (Chulalongkorn)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2547 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

           ศึกษาวิจัยทางระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับโรคพิษสุนัขบ้า นับตั้งแต่การวินิจฉัยโรค การเกิดโรคจากไวรัส การป้องกันการเกิดโรค กระทั่งถึงระบาดวิทยาของ โรคพิษสุนัขบ้าและปัจจัยทางสังคมที่จะมีส่วนช่วยในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคพิษสุนัขบ้าในชุมชม

ศาสตราจารย์ นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน (มหาวิทยาลัยมหิดล)
Professor Dr. Rajata Rajatanavin M.D. (Mahidol)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2548 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

           ศึกษาโรคขาดสารไอโอดีน และโรคกระดูกพรุน โดยจุดมุ่งหมายในการศึกษาโรคขาดสารไอโอดีนเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการควบคุมโรคอย่างเป็นระบบ ตลอดจนขยายผลการตรวจภาวะการบกพร่องของต่อมธัยรอยด์ตั้งแต่กำเนิด ในการศึกษาโรคกระดูพรุนซึ่งเน้นปริมาณแคลเซี่ยมที่เหมาะสมในสตรีไทยสูงอายุ และปัจจัยทางพันธุกรรมที่เกี่ยวกับการดูดซึมแคลเซียมและปริมาณวิตามินดีที่ควรได้รับ

ศาสตราจารย์ นายแพทย์บุญส่ง องค์พิพัฒนกุล (มหาวิทยาลัยมหิดล)
Professor Dr. Boonsong Ongphiphadhanakul M.D. (Hon., Mahidol)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2548 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

           ศึกษาวิจัยด้านโรคทางต่อมไร้ท่อ โดยเฉพาะโรคกระดูกพรุนมาอย่างต่อเนื่องโดยมีการค้นพบว่าฮอร์โมนเพศหญิง คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีอิทธิพลทำ ให้มวลกระดูกลดลงในผู้ชายเมื่อสูงอายุแทนที่จะเป็นฮอร์โมนเพศชาย นอกจากนี้ยังพบว่ายีนของตัวรับเอสโตรเจนมีความสัมพันธ์กับมวลกระดูกทั้งในผู้ชายและผู้หญิง

ศาสตราจารย์ ดร. ปิยะสาร ประเสริฐธรรม (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
Professor Dr. Piyasan Praserthdam B.Eng. (Chulalongkorn), Dr.-Ing. (Toulouse)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2549 สาขาวิศวกรรมเคมี

           การศึกษาตัวเร่งปฏิกิริยา เป็นสารที่ช่วยเพิ่มกำลังการผลิตของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ และลดการสูญเสียของสารตั้งต้น อันเป็นหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมการ กลั่นน้ำมัน อุตสาหกรรมเคมี และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งในการศึกษาวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยานี้ได้ค้นพบวิธีการควบคุมความบกพร่องบนผลึกขนาดนาโนเมตร ของตัวเร่งปฏิกิริยาทำให้สามารถนำผลึกเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้งานทางด้านตัวเร่งปฏิกิริยาและวงจรอิเล็กทรอนิกส์

ศาสตราจารย์ ดร. สมชาย วงศ์วิเศษ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)
Professor Dr.Somchai Wongwises B.Eng (Hons., KMITT), Dr.-Ing. (Hannover)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2549 สาขาวิศวกรรมเครื่องกล

           วิจัยและพัฒนาอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนทั้งระบบ เช่น การนำศาสตร์ทาง การถ่ายเทความร้อนและมวลกลศาสตร์ของไหล และเทอร์โมไดนามิกส์ มาประยุกต์ เพื่อพัฒนาอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนให้มีสมรรถนะสูงขึ้น โดยเน้นที่การเพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงานของระบบปรับอากาศและระบบทำความเย็น ความรู้ใหม่ต่าง ๆ ที่ได้จากงานวิจัยพื้นฐานเหล่านี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบอุปกรณ์ให้มีสมรรถนะสูงขึ้น

ศาสตราจารย์ ดร. ยงค์วิมล เลณบุรี (มหาวิทยาลัยมหิดล)
Professor Dr. Yongwimon Lenbury B.Sc. (Hons., ANU), Ph.D. (Vanderbilt)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2550 สาขาคณิตศาสตร์

           การนำคณิตศาสตร์ไปใช้ศึกษาระบบต่าง ๆ ทางชีววิทยา การแพทย์ และนิเวศวิทยา โดยมีความเชี่ยวชาญทางการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อ ศึกษาระบบไม่เชิงเส้น การวิเคราะห์ และแปลผล ทำให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับระบบที่ศึกษา ตอบปัญหาอันเป็นที่กังขาของผู้ดำเนินการในการควบคุม ดูแล หรือรักษาโรค โดยที่งานวิจัยด้านนี้ซึ่งเป็นการนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ สถิติ และคอมพิวเตอร์ เข้าไปประยุกต์ใช้ในทางชีวการแพทย์ จนเกิดเป็นการวิจัยทางด้าน Biomathematics และ System Biology

ศาสตราจารย์ ดร. สมพงษ์ ธรรมพงษา (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
Professor Dr. Sompong Dhompongsa B.Sc. (Srinakharinwirot), Ph.D. (Illinois at Urbana-Champaign)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2550 สาขาคณิตศาสตร์

           การศึกษาคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ได้แก่ผลงานในทางทฤษฎีความน่าจะเป็น ทฤษฎีโมดูล และการวิเคราะห์ฟังก์ชันนัล ซึ่งได้รับการนำไปประยุกต์ ขยายแนวคิด และปรับปรุงขยายผลในสถานการณ์ใหม่ ๆ ผลงานวิจัยส่วนใหญ่ได้รับการอ้างอิงในระดับสูงโดยนักคณิตศาสตร์นานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานการศึกษาทฤษฎี จุดตรึง ที่ได้สร้างขอบเขตบนของค่าคงที่เจมส์ ซึ่งปรับปรุงขอบเขตบนของนักคณิตศาสตร์ที่มีการยอมรับมานาน พร้อมทั้งวิเคราะห์ว่าขอบเขตบนใหม่นี้เป็นข้อคาดเดา ที่ดีที่สุด

ศาสตราจารย์ ดร. วัชระ กสิณฤกษ์ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
Professor Dr. Watchara Kasinrerk B.Sc. (Chiang Mai), Ph.D. (Boku)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2551 สาขาภูมิคุ้มกันวิทยา

           วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตโมโนโคลนอล แอนติบอดี ต่อโปรตีนหลากหลายชนิด และนำของที่ผลิตได้มาใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาการทำงานของ โมเลกุลบนผิวเซลล์เม็ดเลือดขาว และพัฒนาเป็นชุดตรวจวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาของประเทศ ทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งความรู้เหล่านี้อาจนำไปประยุกต์ใช้การป้องกันและรักษาโรคได้

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร. อภิวัฒน์ มุทิรางกูร (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
Professor Dr. Apiwat Mutirangura M.D. (Chiang Mai), Ph.D. (BCM)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2551 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

           การศึกษาอณูพันธุศาสตร์ของมะเร็งหลังโพรงจมูก และการตกแต่งสายดีเอ็นเอด้วยหมู่เมททิล เพื่อควบคุมการทำงานของยีนและปกป้องจีโนมของเซลล์ จากการศึกษาเพื่อหาองค์ความรู้ใหม่เพื่อที่จะทำให้เกิดความเข้าใจถึงชีววิทยาของดีเอ็นเอ ความรู้นี้มีความสำคัญต่อการพัฒนาวิธีการดูแลรักษาผู้ป่วย

ศาสตราจารย์ ดร. สายชล เกตุษา (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
Professor Dr. Saichol Ketsa B.Sc. (Kasetsart), Ph.D. (Michigan State)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2552 สาขาวิทยาการพืชสวน

           ศึกษาการเปลี่ยนแปลงหลังการเก็บเกี่ยวของผลิตผลพืชสวนเขตร้อน สามารถนำความรู้เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันหรือลดการสูญเสียหลังการ เก็บเกี่ยวและรักษาคุณภาพของผัก ผลไม้ และไม้ดอกไม้ประดับหลังการเก็บเกี่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้เป็นประโยชน์ทั้งด้านการสร้างองค์ความรู้ใหม่ และการประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาหลังการเก็บเกี่ยวของผลิตผลพืชสวน

ศาสตราจารย์ ดร. อารันต์ พัฒโนทัย (มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
Professor Dr. Aran Patanothai B.S. (Hons., Kasetsart), Ph.D. (Iowa State)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2552 สาขาวิทยาศาสตร์เกษตร

           ศึกษาด้านงานวิจัยเกษตรเชิงระบบโดยเฉพาะงานวิจัยระบบการปลูกพืชและระบบการทำฟาร์มในเขตที่อาศัยน้ำฝนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและการ ปรับปรุงพันธุ์ถั่วลิสง อีกทั้งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและเผยแพร่แนวคิดของงานวิจัยระบบการทำฟาร์มในประเทศไทย จนทำให้มีการนำไปใช้กันอย่างกว้างขวาง และสามารถผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพดีเด่นมาอย่างต่อเนื่อง

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเสริฐ เอื้อวรากุล (มหาวิทยาลัยมหิดล)
Professor Dr. Prasert Auewarakul M.D. (Mahidol), Ph.D. (Heidelberg)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2553 สาขาไวรัสวิทยา

           ศึกษาวิจัยไวรัสเอชไอวี โดยได้สร้างวิธีการทดสอบที่ใช้ศึกษากระบวนการ uncoating ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกเมื่อไวรัสเข้าสู่เซลล์ อันเป็นงานวิจัยพื้นฐานที่อาจ
นำไปสู่การค้นหาโปรตีน uncoating factor รวมทั้งได้ศึกษาพยาธิกำเนิดของการติดเชื้อไวรัสเอช5เอ็น1ไข้หวัดใหญ่ 2009 ในมนุษย์ ซึ่งอาจนำไปสู่วิธีการ ดูแลรักษาผู้ป่วยที่ดีขึ้นในอนาคต

นายแพทย์วิศิษฎ์ ทองบุญเกิด (มหาวิทยาลัยมหิดล)
Dr. Visith Thongboonkerd M.D. (Chiang Mai)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2553 สาขาโปรตีโอมิกส์

           ศึกษาด้านโปรตีโอมิกส์ทางการแพทย์ โดยสามารถผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงจำนวนมากภายในระยะเวลาอันสั้นจากการนำเทคโนโลยีทางด้าน โปรตีโอมิกส์มาศึกษาโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับโรคต่าง ๆ ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจถึงกลไกการเกิดโรคที่ดีขึ้น และอาจนำมาสู่การค้นพบตัวบ่งชี้ (biomarkers)
สำหรับการวินิจฉัยและพยากรณ์โรคที่รวดเร็วและแม่นยำขึ้น

ศาสตราจารย์ ดร. สุทธวัฒน์ เบญจกุล (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)
Professor Dr. Soottawat Benjakul B.Sc. (Prince of Songkla), Ph.D. (Oregon State)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2554 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร

           ดำเนินการวิจัยทั้งงานวิจัยพื้นฐานและประยุกต์ เพื่อก่อให้เกิดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเกี่ยวกับอาหารทะเลที่ผลิตในประเทศไทย ตลอดจนการแก้ปัญหาในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล โดยมุ่งเน้นงานวิจัยด้านปรับปรุงคุณภาพสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ และพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับสัตว์น้ำ ตลอดจนการวิจัยด้านการใช้ประโยชน์จากวัสดุเศษเหลือจากการแปรรูปสัตว์น้ำ เพื่อก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มและลดการกำจัดวัสดุเศษเหลือดังกล่าว ซึ่งเป็นสาเหตุของมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม

ศาสตราจารย์ ดร. ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ (มหาวิทยาลัยมหิดล)
Professor Dr.Piyarat Govitrapong B.Sc. (Mahidol), Ph.D. (Nebraska)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2555 สาขาประสาทวิทยาศาสตร์

ศึกษาการควบคุมการสร้างและบทบาทของเมลาโทนิน ในการช่วยป้องกัน ยับยั้งโรคสมองเสื่อมจากการติดสารเสพติดกระตุ้นประสาท และค้นพบศักยภาพของเมลาโทนินในการกระตุ้นการสร้างและการเจริญของเซลต้นกำเนิดระบบประสาท

ศาสตราจารย์ นพ. ดร. นิพนธ์ ฉัตรทิพากร (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
Professor Dr. Nipon Chattipakorn M.D. (Chiang Mai), Ph.D. (Alabama at Birmingham)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2555 สาขาสรีรวิทยาทางไฟฟ้าของหัวใจ

ศึกษาค้นคว้าและวิจัยเชิงลึกทางด้านระบบไฟฟ้าในหัวใจที่เกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน (heart attack) จากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โดยเน้นถึงความสำคัญของแนวคิดในการทำงานวิจัยพื้นฐาน ที่จะต้องสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้และเชื่อมโยงเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเนื่องกับการวิจัยทางคลินิกได้ 

ศาสตราจารย์ ดร. โสพิศ วงศ์คำ  (มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
Professor Dr. Sopit Wongkham B.Sc. (Mahidol), Ph.D. (Mahidol)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2556 สาขาชีวเคมี

ศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐานด้านชีววิทยาและชีววิทยาโมเลกุลของมะเร็งท่อน้ำดี ที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับยีนที่เกี่ยวข้องกับการก่อมะเร็งและการแพร่กระจายของมะเร็งท่อน้ำดี จนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการหาตัวบ่งชี้มะเร็งท่อน้ำดีในซีรัมผู้ป่วย เพื่อเสริมการวินิจฉัย การพยากรณ์โรค และพัฒนาแนวทางการรักษาแบบมุ่งเป้า (Targeted therapy)

รองศาสตราจารย์ ดร. บรรจบ ศรีภา  (มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
Associate Professor Dr. Banchob Sripa B.Sc. (Khon Kaen), Ph.D. (Queensland)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2556 สาขาพยาธิวิทยา

ด้านพยาธิวิทยาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี โดยได้ศึกษาค้นคว้าและวิจัยเชิงลึกทางด้านกลไกการเกิดโรคโดยเฉพาะด้านอิมมูโนพยาธิวิทยาจนเข้าใจกระบวนการการเกิดการอักเสบจากการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับโดยได้ค้นพบองค์ความรู้ใหม่ที่สำคัญ คือ สารคัดหลั่งจากตัวพยาธิสามารถแทรกซึมผ่านเซลล์เยื่อบุท่อน้ำดีแล้วกระตุ้นการอักเสบอย่างรุนแรงในบริเวณที่ตรวจพบสารจากตัวพยาธิรวมทั้งทำให้มีการแบ่งเซลล์มากขึ้นและมีการตายของเซลล์ (apoptosis) ลดลงซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่จะนำไปสู่การเกิดมะเร็งท่อน้ำดี

ศาสตราจารย์ ดร. ธวัชชัย ตันฑุลานิ  (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
Professor Dr. Thawatchai Tuntulani B.Eng. (Chiang Mai), Ph.D. (Texas A&M)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2557 สาขาเคมี

ศาสตราจารย์ ดร. ธีรยุทธ วิไลวัลย์  (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
Professor Dr. Tirayut Vilaivan B.Sc. (Hons., Chulalongkorn), D.Phil. (Oxford)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2557 สาขาเคมี

ศาสตราจารย์ ดร. พิมพ์ใจ ใจเย็น (มหาวิทยาลัยมหิดล)
Professor Dr. Pimchai Chaiyen B.Sc. (Hons., Prince of Songkla), Ph.D. (Michigan)

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2558 สาขาชีวเคมี

ด้านการศึกษากลไกการเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ และการประยุกต์ใช้